วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปํญหา




การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา 

1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา   ข้อมูลเข้าคือข้อมูลตอนเริ่มต้นที่โจทย์กำหนดมาให้ตั้งแต่แรก ผู้แก้ปัญหาจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น การเบิกถอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็ม จำเป็นต้องใช้ข้อมูลคือ บัตรเอทีเอ็มและรหัส หลัก

 1.1  การระบุข้อมูลเข้า  ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมากับปัญหา
  1.2  การระบุข้อมูลออก  ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบหรือผลลัพธ์
 1.3  การกำหนดวิธีประมวลผล  ได้แก่ การพิจารณาวิธีหาคำตอบ หรือผลลัพธ์

2) การวางแผนในการแก้ปัญหา จากการทำความเข้าใจกับปัญหาจะช่วยให้เกิดการคาดคะเนว่าจะใช้วิธีการใดในการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ ประสบการณ์เดิมของผู้แก้ปัญหาจะมีส่วนช่วยอย่างมาก ฉะนั้นในการเริ่มต้นจึงควรจะเริ่มด้วยการถามตนเองว่า “เคยแก้ปัญหาในทำนองเดียวกันนี้มาก่อนหรือไม่” ในกรณีที่มีประสบการณ์มาก่อนควรจะใช้ประสบการณ์เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา สิ่งที่จะช่วยให้เราเลือกใช้ประสบการณ์เดิมได้ดีขึ้นคือ การมองดูสิ่งที่ต้องการหา และพยายามเลือกปัญหาเดิมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เมื่อเลือกได้แล้วก็เท่ากับมีแนวทางว่าจะใช้ความรู้ใดในการหาคำตอบหรือแก้ปัญหา โดยพิจารณาว่าวิธีการแก้ปัญหาเดิมนั้นมีความเหมาะสมกับปัญหาหรือไม่ หรือต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้ได้วิธีการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น ในกรณีที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาทำนองเดียวกันมาก่อน ควรเริ่มจากการมองดูสิ่งที่ต้องการหา แล้วพยายามหาวิธีการเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ต้องการหากับข้อมูลที่มีอยู่ เมื่อได้ความสัมพันธ์แล้วต้องพิจารณาว่าความสัมพันธ์นั้นสามารถหาคำตอบได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็แสดงว่าต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมหรืออาจจะต้องหาความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นต่อไป เมื่อได้แนวทางในการแก้ปัญหาแล้วจึงวางแผนในการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอน

 3) การดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวทางที่วางไว้ เมื่อได้วางแผนแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหา ระหว่างการดำเนินการแก้ปัญหาอาจทำให้เห็นแนวทางที่ดีกว่าวิธีที่คิดไว้ ก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนได้

 4) การตรวจสอบ เมื่อได้วิธีการแก้ปัญหาแล้วจำเป็นต้องตรวจสอบว่า วิธีการแก้ปัญหาได้ผลลัพธ์ถูกต้องหรือไม่

ตัวอย่างที่ 1  การวางแผนทำบะหมี่น้ำโดยใช้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยสามารถจำลองความคิดเป็นข้อความได้ดังนี้

1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา

    1.1 การระบุข้อมูลเข้า คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
    1.2 การระบุข้อมูลออก คือ บะหมี่น้ำ
    1.3 การกำหนดวิธีประมวลผล คือ การต้ม

2) การวางแผนในการแก้ปัญหา

    1) เริ่มต้น
    2) ต้มน้ำให้เดือด
    3) ใส่บะหมีลงในน้ำเดือด
    4) รอ 2 นาที
    5)  ใส่เครื่องปรุงแล้วยกหม้อลงจากเตา
    6) จบ

3) การดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวทางที่วางไว้ 

    ปฏิบัติตามขั้นตอนในข้อ 2

4) การตรวจสอบ

    บะหมี่น้ำที่ต้มสุก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การสรุปผลและการเผยแพร่ผลงาน

 หลังจากการพัฒนาโครงงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผู้พัฒนาควรเขียนรายงานโครงงานและเผยแพร่ผลงาน ซึ่งมีรูปแบบอ่านและหัวข้อที่สำคัญดังนี้ 1. การเขียนรา  ...